Untitled Document
images_04
  template2
ปริญญาตรี
» วท.บ.สาขาภูมิศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.บ.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาโท
» วท.ม.สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาเอก
» ปร.ด.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» ปร.ด.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต
             สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง 2565) (สำหรับนิสิต รหัส 65 เป็นต้นไป)

     »» ดาวน์โหลด มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ :Bachelor of Science Program in Geography

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์)
Bachelor of Science (Geography)
วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
B.S. (Geography)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับ 2 ปริญญาตรี

ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญาของหลักสูตร
มีความรอบรู้พื้นที่อย่างบูรณาการ เป็นอิสระและหลากหลาย สร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1)เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะเป็นผู้รอบรู้วิชาการและวิชาชีพภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ คิดเป็นทำเป็น แก้ไขปัญหาเป็น และมุ่งมั่นแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2)เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีทักษะภูมิสารสนเทศ ภาษาต่างประเทศ และการบริหารจัดการพื้นที่
3)เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความเพียร คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ และซื่อสัตย์
4)เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม
5)เพื่อเป็นฐานวิชาการสำหรับพัฒนางานวิจัยเชิงวิชาการและประยุกต์ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ทั้งในกลุ่มวิชาเทคนิคภูมิสารสนเทศและนวัตกรรม ภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์
6)เพื่อเป็นฐานวิชาการสำหรับสร้างงานบริการวิชาการแก่ชุมชนในการวางแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อกิจการสาธารณะ การจัดระบบป้องกัน/รักษา/ฟื้นฟูพื้นที่ที่มีปัญหาสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และการวางระบบระเบียบเพื่อพัฒนาเป็นข้อบังคับและ/หรือกฎหมายที่ใช้เฉพาะพื้นที่หรือใช้ทั่วไป
หมวดวิชา   หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ.2565

       

1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป       ไม่น้อยกว่า


30
หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษา      
      วิชาบังคับ

     
            - กลุ่มภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า

  3 หน่วยกิต
            - กลุ่มภาษาไทย    ไม่น้อยกว่า

  3 หน่วยกิต
       วิชาเลือก

     
             โดยเลือกจากกลุ่มภาษาอังกฤษ กลุ่มภาษาไทย หรือกลุ่มภาษาต่างประเทศอื่นๆ ไม่น้อยกว่า

  6 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า

  6 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า

  6 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า

  6 หน่วยกิต
1.5 กลุ่มวิชาพลานามัย (บังคับไม่นับหน่วยกิต)

  6 หน่วยกิต

2.หมวดวิชาเฉพาะ               ไม่น้อยกว่า


85 หน่วยกิต

      2.1 วิชาพื้นฐาน


216 หน่วยกิต

      2.2 วิชาเฉพาะด้าน


57 หน่วยกิต

            2.1.1 วิชาบังคับ


39 หน่วยกิต

            2.1.2 วิชาเลือก          ไม่น้อยกว่า


18 หน่วยกิต

      2.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี


6 หน่วยกิต

      2.4 สหกิจศึกษา/ฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ   


6 หน่วยกิต
3.หมวดวิชาเลือกเสรี


6 หน่วยกิต
            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2565

ปีที่ 1


ภาคการศึกษาต้น
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 (2-2-5)
001281 กีฬาและการออกกำลังกาย (วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
252111 แคลคูลัสมูลฐาน 3 (2-2-5)
104141 ภูมิศาสตร์มนุษย์ 3 (2-2-5)
104161 ภูมิศาสตร์กายภาพ 3 (2-2-5)

รวม

18


หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย

001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 (2-2-5)
104212 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงพื้นที่ 3 (2-2-5)
104223 การทำแผนที่เบื้องต้นและมาตรฐานแผนที่ 3 (2-2-5)
261103 ฟิสิกส์เบื้องต้น 3 (3-0-6)
261113 ปฏิบัติการฟิสิกส์เบื้องต้น 1 (0-2-1)

รวม

19


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาวิทยาศาสตรและคณิตศาสตร์ 3 (2-2-5)
104271 บรรยากาศวิทยาเบื้องต้น 3 (2-2-5)
104233 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3 (2-2-5)
104234 การรับรู้จากระยะไกล 3 (2-2-5)

รวม

15


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา 3 (2-2-5)
001xxx หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 (2-2-5)
104225 การสำรวจด้วยระบบนำทางด้วยดาวเทียม 3 (2-2-5)
104223 การจัดการฐานข้อมูลและฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ 3 (2-2-5)
104253 ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง 3 (2-2-5)
104228 วิทยาศาสตร์ข้อมูลภูมิศาสตร์ 3 (2-2-5)

รวม

18


หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาต้น
104312 ปรัชญาและแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ 3 (2-2-5)
104325 การพัฒนาแผนที่บนเว็บ 3 (2-2-5)
104231 โฟโตแกรมเมตตรี I 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
xxxxxx วิชาเลือกเสรี 3(x-x-x)

รวม

18


หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาปลาย
104314 ปัญหาพิเศษในวิชาภูมิศาสตร์ 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
xxxxxx วิชาเลือกเสรี 3 (x-x-x)

รวม

18


หน่วยกิต

 

ปีที่ 4
ภาคการศึกษาต้น
104482 ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางภูมิศาสตร์ 3(2-2-5)
104488 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 6 หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 4
ภาคการศึกษาปลาย
104498 สหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต หรือ
104499 การฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ 6 หน่วยกิต

รวม

6


หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

           1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายในแผนการเรียนซึ่งเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ
           2.ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ เป็นไปตามข้อบังคับและประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  

                อาจารย์ธัญญาลัคน์ จันทร์สมบัติ
                 ประธานกรรมการ    
                 อีเมล์: Tanyalaks@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2756

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ เกตุอ๊อต
                 กรรมการ    
                 อีเมล์: rangsank@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2752

                
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย
                 กรรมการ    
                 อีเมล์: kampanart@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2756

                 อาจารย์ ดร.จรัสดาว คงเมือง
                 กรรมการ    
                 อีเมล์: charatdaok@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2752

                 อาจารย์ประสิทธิ์ เมฆอรุณ
                 กรรมการ    
                 อีเมล์: prasitme@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2753

                 นางสาวโสนน้อย ฟักทองอ่อน
                 เจ้าหน้าที่ธุรการ    
                 อีเมล์: Sanonoi18@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2757

การรับเข้าศึกษาต่อ
                 เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร  
ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูไปที่ เวปไซต์ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   www.acad.nu.ac.th

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
                - บาท

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่จบการศึกษา สามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
   1. นักวิชาการภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ และ/หรือ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรท้องถิ่น และสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
   2. ที่ปรึกษาด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
   3. นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินผลกระทบและจัดทำแผนป้องกันฟื้นฟู
   4. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านทำแผนที่ การจัดการข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมกำหนดพิกัดโลก การพัฒนาโปรแกรมภูมิสารสนเทศ ทำงานให้กับภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ
   5. ผู้ประกอบการอิสระที่มีความเชี่ยวชาญในด้านภูมิสารสนเทศและนวัตกรรม ที่สามารถใช้แบบจำลองและแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์เป็นกรอบและเครื่องมือในการทำงาน

ELO

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)

ELO1: ฝึกฝนให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะ มีความเพียร อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ ซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม และสร้างเสริมความรู้และเข้าใจ และชื่นชมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม

ELO2: พัฒนาความถนัดทางภูมิศาสตร์เพื่อให้สามารถดารงตาแหน่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และองค์กรวิชาชีพ และความเป็นผู้ประกอบการ

ELO3: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อประชากรมนุษย์

ELO4: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค

ELO5: อ่านและแปลความหมาย สร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้

ELO6: เขียนและพัฒนาโปรแกรม นวัตกรรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถนาเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ELO7: ใช้ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทาความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้

ELO8: กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการวิจัยด้านภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยใช้วิธีการเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ และ/หรือกำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม
พัฒนาและดำเนินการสร้างนวัตกรรมภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ

ELO9: นำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ด้วยการบรรยาย ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการขั้นตอน ผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอภิปรายผล ในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ

ELO10: ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อทางานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง พร้อมทั้งใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับองค์กรนั้น

แผนการเตรียมความพร้อมของนิสิตเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หวัง

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (ELOs)

แผนการเตรียมความพร้อม

ELO1 ฝึกฝนให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะ มีความเพียร อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ ซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม และชื่นชมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม 1.สอนแทรกหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ และการทำวิทยานิพนธ์ โดยมีการให้ความรู้และตระหนักถึงผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ
2. มีการปลูกฝังให้นิสิตมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยเน้นย้ำในเรื่องการเข้าเรียน การส่งงานตรงเวลา และการไม่ทุจริตในการสอบ รวมทั้งไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
ELO2 พัฒนาความถนัดทางภูมิศาสตร์เพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และองค์กรวิชาชีพ และความเป็นผู้ประกอบการ 1.จัดให้มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่เน้นทฤษฎี องค์ความรู้ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และทักษะการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
2. จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความถนัดเฉพาะด้าน สามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปประกอบวิชาชีพทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์กรวิชาชีพ หรือเป็นผู้ประกอบการ
3. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนอย่างมีความสุข และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ 
ELO3 อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อประชากรมนุษย์ 1. เน้นวิธีการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติใช้หลักการและทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ เพื่ออธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทที่มีต่อประชากรมนุษย์
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการศึกษาภาคสนาม การฝึกปฏิบัติการ รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาบรรยาย
ELO4 อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค 1. เน้นวิธีการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติใช้หลักการและทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ เพื่ออธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการศึกษาภาคสนาม การฝึกปฏิบัติการ รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาบรรยาย
ELO5 อ่านและแปลความหมาย สร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้ 1. เน้นความเข้าใจในหลักการทำแผนที่ ทักษะการอ่านและแปลความหมายแผนที่
2. จัดให้มีการฝึกปฏิบัติการสร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ และการนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้
ELO6 เขียนและพัฒนาโปรแกรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถนำเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. เน้นการพัฒนาทักษะให้ผู้เรียนสามารถเขียนและพัฒนาโปรแกรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้
2. บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO7 ใช้ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้ 1. เน้นการพัฒนาทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก
2. สามารถใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้
ELO8 กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการวิจัยด้านภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยใช้วิธีการเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ และ/หรือกำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการสร้างนวัตกรรมภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหาทั้งระดับบุคคลและกลุ่ม
2. ใช้วิธีการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (active learning) เช่น การอภิปรายกลุ่ม การระดมสมอง การวิเคราะห์/สังเคราะห์กรณีศึกษา ปัญหาพิเศษ และการทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
ELO9 นำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ด้วยการบรรยาย ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการขั้นตอน ผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอภิปรายผล ในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ 1. เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ทั้งในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งการพูด การฟัง และการเขียนในกลุ่มผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม
ELO10 ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง พร้อมทั้งใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับองค์กรนั้น 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน
2. ใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา หรือการฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศได้


Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750