|
|
การจัดการความรู้ โครงการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการวิจัยแก่คณาจารย์ ของภาควิชาฯ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้องประชุมเกษตรศาสตร์ 4 (AG 1212) |
|
การจัดการความรู้
โครงการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการวิจัยแก่คณาจารย์
ของภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555
ณ ห้องประชุมเกษตรศาสตร์ 4 (AG 1212)
******************************************
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความประสงค์จะจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์ เพื่อจัดประชุมวิชาการโดยศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting professor) และเพื่อพัฒนาโครงการวิจัยใหม่ของคณาจารย์ ได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการวิจัยแก่คณาจารย์ของภาควิชาฯ ครั้งที่ 1 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากรองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง รองผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาร่วมเสวนาและบรรยายพิเศษให้กับคณาจารย์ของภาควิชาฯ ในประเด็น แนวทางการวิจัยเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่างเวลา 13:00-16:00 น. ซึ่งความรู้ที่ได้มีดังต่อไปนี้ คือ
- แหล่งทุนวิจัยด้านสภาวะโลกร้อนมีหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะให้ทุนวิจัยใน 3 ส่วนใหญ่ ๆ ตัวอย่างเช่น การบูรณาการปัญหาโลกร้อนจากกรอบใหญ่ลงไปพื้นที่เล็ก ๆ ลงไปถึงแต่ละชุมชน มี Model อะไรที่เป็น Best Practice ที่หน่วยงานของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนวิจัยแบบปีต่อปีจึงขาดความต่อเนื่อง แหล่งทุนใหม่คือ สวทน. (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ : National Science Technology and Innovation Policy Office) จะเน้นผลักดันการวิจัยโลกร้อนในเชิงนโยบาย ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เน้นการจัดการกับ GHG เป็นหลัก ส่วน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะทำวิจัยโลกร้อนกับสุขภาพ
- มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่มีผลงานด้าน GCM (Global Climate Modeling) เช่น ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.เจียมใจ จิระอัมพร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.เกษมสันต์ ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ มโนมัยพิบูลย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และ รศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยในส่วนของ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นั้นจะบูรณาการหลาย ๆ โมเดลเข้าด้วยกันเพื่อหาข้อสรุปว่ามีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
- ในกลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำโมเดลโลกร้อนไปประยุกต์กับ Crop Modeling ทางการเกษตรกรรมที่ทางการเกษตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทำวิจัยผลกระทบโลกร้อนต่อลำไย ส่วนทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศึกษาผลกระทบต่อยางพารา
- สามารถดาวน์โลดผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ที่เว็บไซต์ Climatechange.jgsee.org ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อการเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้ โดยการขอ username และ password แบบ online ได้ มี e-book จำนวน 3 เล่ม ให้ดาวน์โลด
- มี Scenarios โลกร้อนของ IPCC มีหลายแบบที่ใช้ในการศึกษา (เช่น A1, A2, B1, B2) ซึ่งคาดว่า IPCC กำลังจะปรับเปลี่ยนใหม่ ที่เว็บไซต์ ipcc.ch สามารถหาข้อมูลและโมเดลต่าง ๆ ได้
- มีความพยายามศึกษาเพื่อความเข้าใจเรื่อง ฝน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งฝนมีอยู่ 2 ประเภท คือ ฝนจากการยกตัว (Convection) และฝนตามฤดูกาลหรือลมมรสุม มีผลกระทบของฝนจากฤดูมรสุม 2 ฤดูกาล จาก ENSO หรือ IOD (Indian Ocean Dipole) จากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ จากการเกิดเมฆแบบต่าง ๆ
- ไม่มีการสอนรายวิชา Atmospheric Science ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เห็นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเปิดสอนก็ดีมากที่จะทำให้เข้าใจพื้นฐานของโลกร้อนได้ดียิ่งขึ้น
- ในระดับโลกจะเน้นการทำวิจัยปรากฏการณ์สำคัญในระยะสั้นที่เกิดขึ้น เช่น หนาวจัด-ร้อนจัด เป็นต้น ขณะนี้ยุโรปมีปัญหาอากาศหนาวจัดมีผู้กล่าวว่าเป็นผลมาจาก Arctic Oscillation
- วิทยากรได้เป็น WG I ของ IPCC เพราะมีเกณฑ์ 2 ประการ คือ สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสถานะของประเทศ และประสบการณ์หรือผลงานในด้านนี้ จึงมีโอกาสได้พบนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกรวมทั้งผู้ที่ได้ Nobel Prize ซึ่ง IPCC ระบุว่าโลกร้อน 90% มาจากมนุษย์ส่วนอีก 10% Uncertainty
- ในการประชุมโลกร้อนไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะผู้ที่เข้าร่วมส่วนใหญ่คือนักเจรจาต่อรองมืออาชีพ (Lobbyist) เพื่อผลประโยชน์ของประเทศตนเองไม่ได้มุ่งจะแก้ปัญหาโลกร้อนจริงซึ่งน่ากลัวมาก นักวิชาการที่ยึดเหตุผลและข้อเท็จจริงไม่มีทางสู้ได้ การประชุม COP 15 ที่โคเปนเฮเกน ทำให้ UNFCCC ลดน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากชาวโลก ควรหา Platform ใหม่มาดำเนินการ ในการประชุมประเทศหนึ่งอาจเข้าร่วมได้หลายคนแต่จะพูดขัดแย้งกันเองไม่ได้และออกเสียงได้เพียงคนเดียว สำหรับประเทศไทย Position ของประเทศไทย คือ No position
- หลังปี 2012 จะมีแนวทางอย่างไร มีหลายแนวทางแต่ไม่รู้ว่าจะเลือกอะไร แนวทางแบบพิธีสารเกียวโตนั้นส่วนใหญ่น่าจะไม่ยอมรับ
- CCS (Carbon Capture and Storage) ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก (The Alliance of Small Island States; AOSIS) ไม่ยอมให้ทิ้ง CO2 ลงมหาสมุทรเพราะกลัวระเบิดเหมือนที่แอฟริกา ทาง IPCC พยายามให้ CCS เป็นส่วนหนึ่งของ CDM ด้วย ตัวดูดซับ CO2 ที่ดีที่สุดคือ Amines แล้วแปลงเป็นสารประกอบอื่นแต่ประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ
- สรุปแนวทางการทำวิจัยสภาวะโลกร้อน
1) อุตุนิยมวิทยากับสภาวะโลกร้อน
2) การศึกษาผลกระทบสภาวะโลกร้อนในด้านต่าง ๆ
3) การวิจัยเชิงนโยบาย Policy, Regularity, Carbon credit, Carbon footprint หาผลกระทบ ช่องโหว่ หรือข้อได้เปรียบ หรือวิธีการลด GHG อย่างง่าย ๆ ซึ่งวิทยากรมีความเห็นว่า Carbon footprint
ไม่น่าจะมีผลในการลดโลกร้อนได้จริง หลายพื้นที่มีโครงการ Low Carbon City เช่น ที่จังหวัดขอนแก่น
4) สังคมศาสตร์กับโลกร้อน เพื่อให้ชุมชนตระหนักปัญหานี้และมีส่วนร่วม
5) CCS (Carbon Capture and Storage) JGSEE ได้ทุนวิจัยจาก ADB เพื่อประเมิน CCS ของประเทศไทย
6) ศักยภาพการกับเก็บคาร์บอนในดินซึ่งมีสูงมาก แต่ Uncertainty
7) Biochar เป็นถ่านที่มีเสถียรสูง ฝังเก็บคาร์บอนไว้ในดินได้ช่วยปรับปรุงสมบัติกายภาพของดินให้ดีขึ้น ทำให้มีที่ว่างในดินเพื่อเก็บน้ำและอากาศได้มากขึ้น
หมายเหตุ
สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://ord01.fix.gs/index.php?topic=83.0
Biochar เป็นถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้แบบควบคุมปริมาณออกซิเจนที่อุณหภูมิต่ำ biochar ต่างกับ Activated carbon (ถ่านกัมมัน) ที่ activated carbon เผาที่อุณหภูมิสูง แต่ biochar เผาที่อุณหภูมิต่ำถ่าน biochar เป็นถ่านที่เกิดจากกระบวนการ pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน เช่น ไม้ มูลสัตว์ หรือพลาสติก แต่ถ่าน biochar ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกระบวนการ pyrolysis ใช้ความร้อนยิ่งยวด ทำลายพันธะทางเคมีของคาร์บอนไดออกไซด์ ปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนออกมาหล่อเลี้ยงไฟ ส่วนคาร์บอนถูกไม้จับไว้ ถ่าน biochar จึง ดำ-เปราะ-เบา ซึ่งเป็นลักษณะของคาร์บอนที่มีความบริสุทธิ์สูง คาร์บอนไดออกไซด์ จึงถูกดักจับจากอากาศมาเก็บไว้ในรูปคาร์บอนในถ่าน เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์หายไปจากบรรยากาศ จึงเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกชาวอเมซอนใช้ถ่าน biochar ปรับปรุงดินเปลี่ยนดินเลว เนื่องจาก biochar เป็นรูปของคาร์บอนเกือบบริสุทธิ์ จึงทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ และเนื่องจากมันไม่ค่อยย่อยสลายเอง ตัว biochar จึงเก็บรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ในดิน ลดการที่ดินปล่อยปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ N2O และมีเทน CH4 ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้การมีปริมาณคาร์บอนในดินมากขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน พลิกฟื้นดินที่ตายแล้ว ให้กลับมาเป็นดินที่มีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความเป็นถ่าน biochar จึงดูดสีดูดกลิ่นจากน้ำในดิน ทำให้น้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้น
|
|
|
|
|