Untitled Document
images_04
  template2
ปริญญาตรี
» วท.บ.สาขาภูมิศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.บ.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาโท
» วท.ม.สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาเอก
» ปร.ด.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» ปร.ด.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
             สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง 2565)

     »» ดาวน์โหลด มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชื่อภาษาอังกฤษ :Master of Science Program in Natural Resources and Environment

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
Master of Science (Natural Resources and Environment)
วท.ม. (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
M.S. (Natural Resources and Environment)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 1   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 2   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
กรณีจัดการศึกษาตามแผน ข               จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552


ภาษาที่ใช้
  ภาษาไทย
  ภาษาภาษาอังกฤษ (กรณีมีนิสิตต่างชาติเข้าศึกษา)

การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรเพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะและมีหลักธรรมาภิบาล สามารถใช้ และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านหลักการอนุรักษ์ การฟื้นฟู ระบบสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ที่ทันสมัยมีมุมมองอย่างลุ่มลึกเชิงบูรณาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มีทักษะในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เป็นระบบในระดับชาติ เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี วิทยาศาสตร์เชิงระบบ วิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรมที่ทันสมัย รวมทั้งแนวทางการอนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างบูรณาการอย่างเป็นระบบอย่างสมดุลและยั่งยืน
2.ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความสามารถในการเชื่อมโยงองค์ความรู้เชิงบูรณาการ อย่างลุ่มลึก เพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ สู่การจัดการและกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เพื่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง และประเทศให้เกิดความยั่งยืน
3.ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ ผู้ประสานความร่วมมือ และ ผู้ปฏิบัติงาน ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระดับท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่างภูมิภาค และประเทศภายใต้หลักธรรมาภิบาล
4.ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้และบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสื่อสารให้กับสังคมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับสากล รวมทั้งการพร้อมรับมือกับพลวัตโลกปัจจุบันและอนาคต
หมวดวิชา
หลักสูตรใหม่
พ.ศ.2560

 
 
แผน ก แบบ ก 1
แผน ก แบบ ก 2 แผน ข  
1.งานรายวิชา(Course Work)        ไม่น้อยกว่า - 24 30 หน่วยกิต
      1.1  วิชาบังคับ - 12 12 หน่วยกิต
      1.2  วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า - 12 18 หน่วยกิต
2.วิทยานิพนธ์      ไม่น้อยกว่า 36 12 - หน่วยกิต
3.การค้นคว้าอิสระ - - 6 หน่วยกิต
4.รายวิชาไม่บังคับหน่วยกิต 5 5 5 หน่วยกิต
            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
36
36 36 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2565

 แผน ก แบบ ก 1

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น

118561 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6)
118571 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
118581 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
118572 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต)  1 (0-2-1)
118582 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
118583 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
118584 วิทยานิพนธ์ 4 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

  แผน ก แบบ ก 2
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น
118511 นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
118512 เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
118513 นโยบาย แผน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิงบูรณาการ 3 (3-0-6)
118514 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม 3 (3-0-6)
118561 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6)
118571 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)

รวม
12

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
118xxx วิชาเลือก 3(x-x-x)
118xxx วิชาเลือก 3(x-x-x)
118xxx วิชาเลือก 3(x-x-x)
xxxxxx วิชาเลือก 3(x-x-x)
118572 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
118585 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 2 3 หน่วยกิต

รวม
15

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
118586 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 2 3 หน่วยกิต

รวม
3

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
118587 วิทยานิพนธ์ 3  แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต

รวม
6

หน่วยกิต

  แผน ข
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น
118511 นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
118512 เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
118513 นโยบาย แผน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิงบูรณาการ 3 (3-0-6)
118514 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม 3 (3-0-6)
118561 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6)
118571 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)

รวม
12

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
118xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
118xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
118xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
118xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
118572 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต)
1 (0-2-1)

รวม
12

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคฤดูร้อน
118xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
xxxxxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)

รวม
6

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
118588 การค้นคว้าอิสระ 1 3 (x-x-x)

รวม
3

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
118589 การค้นคว้าอิสระ 2 3 (x-x-x)

รวม
3

หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา


- คุณสมบัติทั่วไป
          

- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1

             ผู้สมัครเข้าเรียน แผน ก แบบ ก 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ที่มีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่าที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งไม่นับหน่วยกิต หรือทากิจกรรมทางวิชาการอื่น เฉพาะแผน ก แบบ ก 1 รับทั้งนิสิตชาวไทยและนิสิตต่างชาติ ดังรายละเอียด

  1.) กรณีผู้สมัครเป็นนิสิตชาวไทย ต้องมีคุณสมบัตเฉพาะสาขา ิดังนี้
          1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วนศาสตร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เคมีสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หากไม่เป็นไปตามข้อกาหนดดังกล่าว และ/หรือ
          1.2 มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี ในหน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร กรณีที่ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรมีประสบการณ์การทางานในข้อ 1.2) ต้องมีใบผ่านงาน ที่รับรองและลงลายมือชื่อโดยผู้จ้างและผู้บังคับบัญชา

      ในกรณีที่ไม่มีคุณสมบัติดังที่ระบุไว้ในข้อ 1.2 หรือ มีประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 2 ปี สามารถยื่นผลงานวิชาการในการสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
              1.2.1 ผลงานตีพิมพ์ฉบับเต็ม (full paper) ในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ที่มีคุณภาพ หรืออยู่ในฐานข้อมูล ที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือตีพิมพ์ ในวารสารทางวิชาการที่มีกองบรรณาธิการและมี ระบบ Peer Review ที่มีมาตรฐาน อย่างน้อย 1 ผลงาน ภายใน 5 ปี โดยให้นับย้อนหลังจากวันที่สมัคร หรือ
              1.2.2 ผลงานตีพิมพ์หรือรายงานการประชุมตีพิมพ์ฉบับเต็ม (full paper) ที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (proceeding) ระดับชาติหรือนานาชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทารายงาน อย่างน้อย 1 ผลงาน ภายใน 5 ปี โดยให้นับย้อนหลังจากวันที่สมัคร

       ทั้งนี้ ผู้สมัครชาวไทย ในแผน ก แบบ ก 1 ต้องมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข (1.1 และ 1.2) หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 1.1 หรือ ข้อ 1.2 ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
       ทั้งนี้ ผู้สาเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกาหนด ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

  2.) กรณีผู้สมัครเป็นนิสิตต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
         2.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากต่างประเทศ หรือสถาบันระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
         2.2 คุณสมบัติอื่น ๆ ให้กำหนดเช่นเดียวกับ กรณีผู้สมัครชาวไทย ในข้อ 1) กรณีผู้สมัครเป็นนิสิตชาวไทย คือ ผู้สมัครที่เป็นนิสิตต่างชาติ ในแผน ก แบบ ก 1 ต้องมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข 1.1 และ 1.2 หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 1.1 หรือ ข้อ 1.2 ให้เป็นไปตามมติที่ประชุม ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร


- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
 ผู้สมัครเข้าเรียน แผน ก แบบ ก 2 ซึ่งเป็นการเรียนแบบลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและทาวิทยานิพนธ์ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสาขา ดังนี้
              1)  เป็นชาวไทยที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษา ใน ภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรเทียบเท่าในสาขาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วนศาสตร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เคมีสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง กับหลักสูตร รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หากไม่เป็นไปตามข้อกาหนดดังกล่าว และ/หรือ 
              2) หากไม่เป็นไปตามข้อ 1) ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของคณะกรรมการประจำหลักสูตร 


- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ข
  ผู้สมัครเข้าเรียน แผน ข ซึ่งเป็นหลักสูตรแบบลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและทาการค้นคว้าอิสระ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสาขาวิชา ดังนี้
            1)  เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วนศาสตร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เคมีสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว
            2) หากไม่เป็นไปตามข้อ 1) ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของคณะกรรมการประจำหลักสูตร 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
                 รองศาสตราจารย์ ดร.กณิตา ธนเจริญชณภาส
                 ประธานกรรมการ 
                 อีเมล์: kanitat@nu.ac.th  
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2751

                 รองศาสตราจารย์ ดร.จรัณธร บุญญานุภาพ
                 กรรมการ 
                 อีเมล์: Charuntornb@nu.ac.th 
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2732

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชากร คอนดี
                 กรรมการ
                 อีเมล์: nichakornk@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2751

                 นางสาวโสนน้อย ฟักทองอ่อน
                 เจ้าหน้าที่ธุรการ
                 อีเมล์: Sanonoi18@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2757

การรับเข้าศึกษาต่อ

                เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
                ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูไปที่ เวปไซต์ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   www.acad.nu.ac.th


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
                เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และ (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2561 โดยมีรายละเอียดของเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ดังนี้

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก 1
          (ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
          (ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
          (ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
          (ง) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
          (จ) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

          สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอกที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ อาจขอศึกษาเฉพาะระดับปริญญาโทได้ โดยการศึกษาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชานั้น ๆ

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก 2
          (ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
          (ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
          (ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
          (ง) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น ๆ
          (จ) มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00

          (ฉ) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
          (ช) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนาเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

          สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอกที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ อาจขอศึกษาเฉพาะระดับปริญญาโทได้ โดยการศึกษาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชานั้น ๆ

หลักสูตร แผน  ข
          (ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
          (ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
          (ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
          (ง) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น ๆ
          (จ) มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00

          (ฉ) สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (COMPREHENSIVE EXAMINATION)
          (ช) เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง
          (ช) รายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการและได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
          1) อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
          2) นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่นโยบายและแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐบาล ทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น เช่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค อุทยานแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั่วประเทศไทย องค์การบริหารส่วนตาบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
          3) เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ปตท.สผ. บริษัทที่ปรึษาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
          4) ผู้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานเอกชนที่รับงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
          5) อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ELO

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (ELOs)

ELO1 ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและจริยธรรมทางวิชาชีพสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับหน่วยงาน ท้องถิ่น และประเทศ

ELO2 อธิบาย ทฤษฎีและความคิดรวบยอดทางด้านความคิดเชิงระบบ การอนุรักษ์และฟื้นฟู การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ รวมทั้งนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ELO3 ปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเชื่อมโยงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเชิงบูรณาการ

ELO4 เขียนนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับปัญหาเฉพาะถิ่นหรือระดับประเทศ โดยบูรณาการองค์ความรู้อย่างลุ่มลึก

ELO5 สังเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย


ELO6 สร้างและประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ELO7 ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม ระบุแนวทางที่ถูกต้องของการเป็นผู้นำการทำงาน ผู้นำชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ


ELO8 สื่อสารองค์ความรู้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน ประเทศ และนานาชาติ

 

ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

วัตถุประสงค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง(ELOs)

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี วิทยาศาสตร์ เชิงระบบ วิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ และเทคโนโลยีทันสมัย รวมทั้งแนวทางการอนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการอย่างเป็นระบบอย่างสมดุลและยั่งยืน ELO1, ELO2, ELO3

2. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความสามารถในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ เชิงบูรณาการอย่างลุ่มลึก เพื่อการวิเคราะห์ และสังเคราะห์สู่การจัดการ และสร้างนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง และประเทศให้เกิดความยั่งยืน

ELO4

3. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ และบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสื่อสารให้กับสังคมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับสากล ให้เกิดอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมทั้ง สร้างนวัตกรรม การพร้อมรับมือกับพลวัตโลกปัจจุบันและอนาคต

ELO5, ELO6

4. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ ผู้ประสานความร่วมมือ และ ผู้ปฏิบัติงาน และสื่อสารองค์ความรู้ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่างภูมิภาค และประเทศภายใต้หลักธรรมาภิบาล ELO7, ELO8

Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750