ELO1: ฝึกฝนให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะ มีความเพียร อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ ซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม และสร้างเสริมความรู้และเข้าใจ และชื่นชมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม
ELO2: พัฒนาความถนัดทางภูมิศาสตร์เพื่อให้สามารถดารงตาแหน่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และองค์กรวิชาชีพ และความเป็นผู้ประกอบการ
ELO3: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อประชากรมนุษย์
ELO4: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค
ELO5: อ่านและแปลความหมาย สร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้
ELO6: เขียนและพัฒนาโปรแกรม นวัตกรรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถนาเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO7: ใช้ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทาความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้
ELO8: กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการวิจัยด้านภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยใช้วิธีการเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ และ/หรือกำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม
พัฒนาและดำเนินการสร้างนวัตกรรมภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ
ELO9: นำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ด้วยการบรรยาย ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการขั้นตอน ผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอภิปรายผล ในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ
ELO10: ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อทางานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง พร้อมทั้งใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับองค์กรนั้น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (ELOs) |
แผนการเตรียมความพร้อม |
ELO1 ฝึกฝนให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะ มีความเพียร อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ ซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม และชื่นชมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม |
1.สอนแทรกหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ และการทำวิทยานิพนธ์ โดยมีการให้ความรู้และตระหนักถึงผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ
2. มีการปลูกฝังให้นิสิตมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยเน้นย้ำในเรื่องการเข้าเรียน การส่งงานตรงเวลา และการไม่ทุจริตในการสอบ รวมทั้งไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น |
ELO2 พัฒนาความถนัดทางภูมิศาสตร์เพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และองค์กรวิชาชีพ และความเป็นผู้ประกอบการ |
1.จัดให้มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่เน้นทฤษฎี องค์ความรู้ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และทักษะการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
2. จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความถนัดเฉพาะด้าน สามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปประกอบวิชาชีพทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์กรวิชาชีพ หรือเป็นผู้ประกอบการ
3. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนอย่างมีความสุข และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ |
ELO3 อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อประชากรมนุษย์ |
1. เน้นวิธีการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติใช้หลักการและทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ เพื่ออธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทที่มีต่อประชากรมนุษย์
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการศึกษาภาคสนาม การฝึกปฏิบัติการ รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาบรรยาย |
ELO4 อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค |
1. เน้นวิธีการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติใช้หลักการและทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ เพื่ออธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการศึกษาภาคสนาม การฝึกปฏิบัติการ รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาบรรยาย |
ELO5 อ่านและแปลความหมาย สร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้ |
1. เน้นความเข้าใจในหลักการทำแผนที่ ทักษะการอ่านและแปลความหมายแผนที่
2. จัดให้มีการฝึกปฏิบัติการสร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ และการนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้
|
ELO6 เขียนและพัฒนาโปรแกรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถนำเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เน้นการพัฒนาทักษะให้ผู้เรียนสามารถเขียนและพัฒนาโปรแกรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้
2. บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ELO7 ใช้ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้ |
1. เน้นการพัฒนาทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก
2. สามารถใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้ |
ELO8 กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการวิจัยด้านภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยใช้วิธีการเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ และ/หรือกำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการสร้างนวัตกรรมภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ |
1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหาทั้งระดับบุคคลและกลุ่ม
2. ใช้วิธีการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (active learning) เช่น การอภิปรายกลุ่ม การระดมสมอง การวิเคราะห์/สังเคราะห์กรณีศึกษา ปัญหาพิเศษ และการทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น |
ELO9 นำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ด้วยการบรรยาย ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการขั้นตอน ผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอภิปรายผล ในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ |
1. เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ทั้งในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งการพูด การฟัง และการเขียนในกลุ่มผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม |
ELO10 ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง พร้อมทั้งใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับองค์กรนั้น |
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน
2. ใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา หรือการฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศได้ |