ชื่อหลักสูตร |
|
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
ชื่อภาษาอังกฤษ :Doctor of Philosophy Program in Environmental Science |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
|
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) |
|
Doctor of Philosophy (Environmental Science) |
|
ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) |
|
Ph.D. (Environmental Science) |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
|
|
แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต |
|
แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต |
|
|
รูปแบบของหลักสูตร
|
|
หลักสูตรระดับ 6 ปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 |
ภาษาที่ใช้
|
|
ภาษาไทย |
|
ภาษาภาษาอังกฤษ (กรณีมีนิสิตต่างชาติเข้าศึกษา) |
การรับเข้าศึกษา
|
|
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ |
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
|
|
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง |
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
|
|
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
ปรัชญาของหลักสูตร
|
|
ผลิตนักวิชาการและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยบัณฑิตจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอย่างลุ่มลึก มีอิสระ และมีมาตรฐานวิชาการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และผสมผสานความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยภายในท้องถิ่นหรือภูมิภาคออกสู่ระดับนานาชาติได้ และสามารถวิเคราะห์ได้ถึงสาเหตุของปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ลุ่มลึกและนวัตกรรมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และแนวคิดใหม่ ในการจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ภายใต้กรอบคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงมีความสามารถในการสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมกับศาสตร์อื่นได้ |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
|
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ภายใต้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และการควบคุมมลพิษ
2) มีความสามารถด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้และ/หรือนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
3) มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อผลิตบุคลากรทางวิชาการและผลิตผลงานวิชาการ รวมถึงสามารถชี้นำสังคมบนพื้นฐาน ทางวิชาการที่เข้มแข็งเพื่อการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
4) มีความสามารถในการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่หรือโครงการสำคัญที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือควบคุม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
5) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ อาทิเช่น ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและท้าทาย และจัดการข้อโต้แย้งทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
6) มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ มีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความสามารถด้านภาษาและเทคโนโลยีในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ |