Untitled Document
images_04
 

 

 

การจัดการความรู้การสอนภาคภาษาอังกฤษ ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ

การจัดการความรู้การสอนภาคภาษาอังกฤษ
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ
ณ ห้องประชุมเกษตรศาสตร์ 3 (AG 1104)
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555

                ตามที่คณะเกษตรศาสตร์ได้จัดทำโครงการการจัดการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ เมื่อวันที่ 21-22 ธันวาคม 2554 ณ ห้องประชุม AG 1104 ซึ่งคณาจารย์ส่วนหนึ่งของภาควิชาฯ ได้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจัดให้มี
การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาควิชาฯ ใคร่ขอเชิญวิทยากรจาก ภาควิชา ทส. และ วก รวมจำนวน 2 ท่าน คือ ดร.วภากร ศิริวงศ์ และ ดร.สนธยา นุ่มท้วม ได้เล่าเรื่อง (Story Telling) พร้อมนำเสนอการจัดทำ Manual Outline Form (MOF) โดยไฟล์ Microsoft word สำหรับรายวิชาที่จัดการเรียนการ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของหลักสูตรต่างๆ ในระดับปริญญาตรี โท หรือเอก ของภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อไป
            ในการดำเนินการนั้น ดร.วภากร ศิริวงศ์ และ ดร.สนธยา นุ่มท้วม ได้เล่าเรื่อง พร้อมนำเสนอ Manual Outline Form (MOF) รายวิชา 118324 Environmental Soil Science 3(2-3-5) และ 102486 Select topic of Animal Science 3(2-3-5)  ตามลำดับ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 ระหว่างเวลา 13:40-14:20 น. ณ ห้องประชุมเกษตรศาสตร์ 3 (AG 1104) ซึ่งความรู้ที่บันทึกได้ มีดังต่อไปนี้

  1. แบบฟอร์มที่ใช้จัดทำของวิทยากรทั้งสองท่านได้ใช้แบบฟอร์ม MOF (module outline edited Blank form_MOF) ของคณะเกษตรศาสตร์ฯ ที่ปรับปรุงใหม่ เช่น การเพิ่มหัวข้อ การประเมินผล “Grading”
  2. การกรอกแบบฟอร์มนี้หลายส่วนได้มาจากหลักสูตร และประมวลรายวิชา (Course syllabus) ที่เป็นภาษาไทย ต้องมีการทำความเข้าใจคำสำคัญในแบบฟอร์มแล้วกรอกให้ถูกต้อง โดยภาพรวมคล้ายกับรายละเอียดใน ม.ค.อ. 3 และประมวลรายวิชานั่นเอง
  3. ในหัวข้อ Other contributors คือ ผู้ร่วมสอน อาจจะเป็นอาจารย์ต่างภาควิชา หรือต่างสถาบันก็ได้ โดยมีการแบ่งสัดส่วนเป็นร้อยละไว้อย่างชัดเจน
  4. ในหัวข้อ Availability คือ การระบุว่าเป็นรายวิชาเอกบังคับ เอกเลือก หรือ เลือกเสรี
  5. ในหัวข้อ Lecture outline คือ หัวข้อเนื้อหาในประมวลรายวิชา
  6. ในหัวข้อ Intended knowledge outcomes คือ การคาดหมายผลลัพธ์ด้านความรู้ที่นิสิตจะได้รับ
  7. ในหัวข้อ Intended skills outcomes คือ การคาดหมายพัฒนาทักษะให้แก่นิสิตในด้านต่าง ๆ โดยการพัฒนาทักษะ (Development of key skills relevant to Employability) แบ่งออกเป็น I/P/A (Introduced, Practiced, Assessed)
  8. ในหัวข้อ Teaching and learning methods คือ การระบุวิธีการสอนและการเรียนรู้ เช่น การบรรยาย (Lectures) ปฏิบัติการ (Laboratories) เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) การสัมมนา (Seminars)  การศึกษา-ภาคสนาม (Field works) ฯลฯ เป็นจำนวนครั้งและจำนวนชั่วโมงที่ใช้ ในส่วนของ ดร.สนธยา นุ่มท้วม ได้นำเสนอเพิ่มเติม รูปแบบการสอน ได้แก่ การแก้ปัญหา (Problem Solving) และ การทำงานเป็นทีม (Team work หรือ Group work) ที่มีสัดส่วนสูงในการจัดการเรียนการสอนแม้กระทั่งในการปฏิบัติการก็มีการแบ่งกลุ่มย่อย (Group Study)
  9. ในหัวข้อ Timetabling information แบ่งออกเป็นส่วนบรรยาย และปฏิบัติการ โดยกรอกข้อมูลเป็น หัวข้อที่บรรยายและกิจกรรมโดยระบุจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ / สื่อที่ใช้ในการสอน (Week-Topics-hrs.-Activity/Media of Teaching-Instructor) ในส่วนของ ดร.สนธยา นุ่มท้วม ได้นำเสนอว่า ในรายวิชา Select Topics นิสิตสามารถเลือกหัวข้อปฏิบัติการหรือบทความ (Selection Lab. or Articles) ได้ โดยมุ่งเป้าหมายเพื่อการ ทำงานในอนาคต
  10. ในหัวข้อ Reading references ให้ระบุชื่อหนังสือ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ชื่อผู้แต่ง โดยให้ระบุเป็นหนังสือ อ้างอิงหลัก (Essential) หนังสือพื้นฐาน (Background) และหนังสือแนะนำ (Recommended)
  11. ในหัวข้อ Methods of assessment แบ่งหัวข้อย่อย 2 หัวข้อ คือ การสอบ (Exams) ให้ระบุประเภทของ
    การสอบ (Type of exam) คือ ทั้งการสอบกลางภาค และปลายภาค ว่าเป็นแบบใด เช่น unseen, open book, exam with advance information on questions, multiple choice  และระบุจำนวนชั่วโมงที่ใช้สอบ สัปดาห์ใดที่สอบ รวมทั้งร้อยละของคะแนนทั้งหมด (% of formal assessment) เช่น สอบปลายภาคใช้เวลา 3 ชั่วโมง สอบในสัปดาห์ สุดท้ายของภาคการศึกษา และกำหนดร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมด เป็นต้น ส่วนในหัวข้อย่อยที่ 2 คือ การวัดผล อื่นๆ (Other assessment) ให้ระบุประเภท เช่น รายงาน (assessed report)  วิทยานิพนธ์ (dissertation or thesis) งานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชา (coursework assessment) และการมีส่วนร่วม (participation) และระบุจำนวน ชั่วโมงที่ใช้สอบสัปดาห์ที่สอบ และร้อยละของคะแนน เช่นเดียวกัน
  12.  ในหัวข้อ Grading คือ การกำหนดเกณฑ์การตัดสินเพื่อการให้เกรดต่างๆ เช่น A-F จากช่วงคะแนน ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
  13.  ในด้านสื่อการสอนผู้สอนอาจจะเพิ่มสื่อการสอนออนไลน์ เช่น Online articles

 ………………………………..  
(ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย) 
ผู้บันทึกความร
ู้

 
Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 055-962-757, Fax. 055-962-750