Untitled Document
images_04
  template2
ปริญญาตรี
» วท.บ.สาขาภูมิศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.บ.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาโท
» วท.ม.สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาเอก
» ปร.ด.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» ปร.ด.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
             สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง 2565)

     »» ดาวน์โหลด มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ชื่อภาษาอังกฤษ :Doctor of Philosophy Program in Environmental Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
Doctor of Philosophy (Environmental Science)
ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
Ph.D. (Environmental Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  แบบ 1.1  จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
  แบบ 2.1  จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
   

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 6 ปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552


ภาษาที่ใช้
  ภาษาไทย
  ภาษาภาษาอังกฤษ (กรณีมีนิสิตต่างชาติเข้าศึกษา)

การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตนักวิชาการและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยบัณฑิตจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอย่างลุ่มลึก มีอิสระ และมีมาตรฐานวิชาการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และผสมผสานความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยภายในท้องถิ่นหรือภูมิภาคออกสู่ระดับนานาชาติได้ และสามารถวิเคราะห์ได้ถึงสาเหตุของปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ลุ่มลึกและนวัตกรรมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และแนวคิดใหม่ ในการจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ภายใต้กรอบคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงมีความสามารถในการสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมกับศาสตร์อื่นได้


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ภายใต้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และการควบคุมมลพิษ
2) มีความสามารถด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้และ/หรือนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
3) มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อผลิตบุคลากรทางวิชาการและผลิตผลงานวิชาการ รวมถึงสามารถชี้นำสังคมบนพื้นฐาน ทางวิชาการที่เข้มแข็งเพื่อการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
4) มีความสามารถในการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่หรือโครงการสำคัญที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือควบคุม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
5) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ อาทิเช่น ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและท้าทาย และจัดการข้อโต้แย้งทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
6) มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ มีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความสามารถด้านภาษาและเทคโนโลยีในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้
หมวดวิชา
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ.2565

 
    แบบ 1.1   แบบ 2.1  
1.งานรายวิชา(Course Work)        ไม่น้อยกว่า       12 หน่วยกิต
      1.1  วิชาบังคับ   -   - หน่วยกิต
      1.2  วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า   -   12 หน่วยกิต
2.วิทยานิพนธ์      ไม่น้อยกว่า   48   36 หน่วยกิต
3.รายวิชาไม่บังคับหน่วยกิต   10   10 หน่วยกิต
            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  
48
  48 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

แผนการศึกษาแบบ 1.1

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น

105611 หลักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (2-3-5)
105654 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3–0–6)
105651 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0–2–1)
105661 วิทยานิพนธ์ 1 แบบ 1.1 6 หน่วยกิต

รวม
6

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
105652 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0–2–1)
105662 วิทยานิพนธ์ 2 แบบ 1.1 6 หน่วยกิต

รวม
6

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
105655 การทาบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
105653 สัมมนา 3 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
105663 วิทยานิพนธ์ 3 แบบ 1.1 9  หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
105664 วิทยานิพนธ์ 4 แบบ 1.1 9  หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาต้น
105665 วิทยานิพนธ์ 5 แบบ 1.1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาปลาย
105666 วิทยานิพนธ์ 6 แบบ 1.1 9  หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต
 
แผนการศึกษาแบบ 2.1
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น
105611 หลักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (2-3-5)
105654 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6)
105651 สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต) 1(0–2–1)
105xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)
105xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)

รวม
6

หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
105652 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
105667 วิทยานิพนธ์ 1 แบบ 2.1 3 หน่วยกิต
105xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)

รวม
6

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
105655 การทาบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
105653 สัมมนา 3 (ไม่นับหน่วยกิต) 1 (0-2-1)
105668 วิทยานิพนธ์ 2 แบบ 2.1 6 หน่วยกิต
105xxx วิชาเลือก 3 (x-x-x)

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
105669 วิทยานิพนธ์ 3 แบบ 2.1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาต้น
105670 วิทยานิพนธ์ 4 แบบ 2.1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

 

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาปลาย
105671 วิทยานิพนธ์ 5 แบบ 2.1 9 หน่วยกิต

รวม
9

หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

- คุณสมบัติทั่วไป
 เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

- หลักสูตรแบบ 1.1: ปริญญาโทต่อปริญญาเอกเน้นการวิจัย
             1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์
             2. ต้องสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร แผน ก หรือถ้าเป็นหลักสูตร แผน ข ต้องแสดงหลักฐานว่ามีประสบการณ์การทำวิจัย หรือมีประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
             3. กรณีไม่เป็นไปตามที่กำหนดข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

- หลักสูตรแบบ 2.1: ปริญญาโทต่อปริญญาเอกเน้นการวิจัยโดยมีการศึกษางานรายวิชา
             1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์
             2.กรณีไม่เป็นไปตามที่กำหนดข้างต้นให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร


อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรูญ สารินทร์
                 ประธานกรรมการ 
                 อีเมล์: Csarin@hotmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2754

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ อัมพรสถิร
                กรรมการ 
                 อีเมล์: Chaninum@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2754

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ทิพย์ กล่อมเจ๊ก
                 กรรมการและเลขานุการ
                 อีเมล์: pantipk@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2755

                 นางสาวโสนน้อย ฟักทองอ่อน
                 เจ้าหน้าที่ธุรการ
                 อีเมล์: Sanonoi18@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2757

การรับเข้าศึกษาต่อ

                เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
                ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูไปที่ เวปไซต์ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   www.acad.nu.ac.th


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
              เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และ (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ 3 พ.ศ.2561 โดยมีรายละเอียดของเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ดังนี้

ปริญญาเอก แบบ 1.1
            (ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
            (ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
            (ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
            (ง) สอบการวัดคุณสมบัติ (QUALIFYING EXAMINATION)
            (จ) เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
            (ฉ) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

          

 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือ อย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์โดยเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) จำนวน 2 อยู่ในฐานข้อมูลต้องเป็นวารสารระดับนานาชาติที่โดยเรื่อง SCOPUS หรือ ISI 1 เรื่อง และอีก 1 เรื่อง เป็นวารสารระดับชาติหรือนานาชาติให้ตีพิมพ์ในฐานที่ สกอ.รับรอง ตั้งแต่ระดับTCI (กลุ่มที่ 1)

          ทั้งนี้ กรณีได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ต้องระบุปีที่ ฉบับที่ตีพิมพ์

ปริญญาเอก แบบ 2.1
          (ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
         (ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
          (ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
          (ง) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ
          (จ) มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00
         (ฉ) สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
         (ช) เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
         (ซ) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์

           1)กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

         ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์โดยเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) จำนวน1 เรื่องโดยต้องเป็นวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS หรือ ISI


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ที่เปิดทาการเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. นักวิจัยในสถาบันวิจัยที่ดำเนินงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
3. นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น สำนักนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4. นักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่มีภารกิจบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เป็นต้น
5. ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม และผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ในบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ELO

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (ELOs)

ELO1 ปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติงานตามวิชาชีพ ภายใต้จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และการควบคุมมลพิษ

ELO2 ทาการวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่และ/หรือนวัตกรรม เพื่อนาไปสู่การพัฒนาประเทศได้

ELO3 ถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อผลิตบุคลากรทางวิชาการและผลิตผลงานวิชาการ และชี้นาสังคมบนพื้นฐานทางวิชาการที่เข้มแข็งเพื่อการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ELO4 บริหารโครงการสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่หรือโครงการสาคัญที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือควบคุม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ โดยการบูรณาการองค์ความรู้จากสหวิทยาการ

ELO5 ประยุกต์ใช้ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและท้าทาย และจัดการข้อโต้แย้ง ทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ


ELO6 คิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ พัฒนาตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ และใช้ภาษาและเทคโนโลยีในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ได้

 

ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

วัตถุประสงค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง(ELOs)

1. มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ELO1

2. มีความสามารถด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้และ/หรือนวัตกรรม เพื่อนาไปสู่การพัฒนาประเทศ

ELO2

3. ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อผลิตบุคลากรทางวิชาการและผลิตผลงานวิชาการ รวมถึงสามารถชี้นาสังคมบนพื้นฐานทางวิชาการที่เข้มแข็ง เพื่อการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ELO3

4. มีความสามารถในการบริหารโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการสาคัญที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือควบคุม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ELO1, ELO3, ELO4, ELO5

5. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและท้าทาย
และจัดการข้อโต้แย้งทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ

ELO3, ELO5

6. มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ มีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความสามารถด้านภาษาและเทคโนโลยีในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้
และจัดการข้อโต้แย้งทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ

ELO6

Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750