Untitled Document
images_04
  template2
ปริญญาตรี
» วท.บ.สาขาภูมิศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.บ.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาโท
» วท.ม.สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาเอก
» ปร.ด.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» ปร.ด.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
             สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง 2560)

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ :Master of Science Program in Geographic Information Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
Master of Science (Geographic Information Science)
วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
M.S. (Geographic Information Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 1   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 2   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552


ภาษาที่ใช้
  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความคิด ทักษะการแก้ปัญหา และสร้างงานวิจัยเชิงพื้นที่โดยใช้เครื่องมือบูรณาการกับฐานความรู้ด้านทฤษฎี และเทคนิควิธีการด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์ สามารถต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิต และระบบข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการบริหารและจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ี้
1.มีความรู้และเข้าใจแนวความคิด สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผลเชิงพื้นที่ จากสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกได้
2.มีทักษะในการวิจัย สามารถสร้างงานวิจัย และต่อยอดองค์ความรู้ โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และประยุกต์ใช้ หรือสร้างเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการวางแผนและจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ได้
3.มีความเข้าใจ ใฝ่รู้ และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิควิธีการศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบัน
4.ถึงพร้อมด้านจิตพิสัยของการเป็นมหาบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำพาสังคมส่วนรวมไปสู่ความเป็นสุข
หมวดวิชา
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ.2560

 
 

แผน ก แบบ ก 1

แผน ก แบบ ก 2

 
1.งานรายวิชา(Course Work)        ไม่น้อยกว่า - 24 หน่วยกิต
      1.1  วิชาบังคับ - 12 หน่วยกิต
      1.2  วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า - 12 หน่วยกิต

2.วิทยานิพนธ์      ไม่น้อยกว่า

36 12 หน่วยกิต
3.รายวิชาไม่บังคับหน่วยกิต 5 5 หน่วยกิต
            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2560

 แผน ก แบบ ก 1

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น

104545 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3(3-0-6)
104571 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย

104546 สัมมนา1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1(0-3-1)
104572 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
104547 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต) 1(0-3-1)
105593 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 1   9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
104574 วิทยานิพนธ์ 4 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

  แผน ก แบบ ก 2
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น
104541 แผนที่และทัศนภาพ  3 (2-2-5)
104542 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นสูง   3 (2-2-5)
104543 การรับรู้จากระยะไกลขั้นสูง 3 (2-2-5)
104545 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6) 

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
104544 ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ 3 (2-2-5)
104546 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต)     1 (0-3-1)
104xxx วิชาเลือก  3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก   3 (2-2-5)
104575 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 2  3  หน่วยกิต

รวม

12


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
104547 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต)     1 (0-3-1)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก 3 (2-2-5)
104576 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 2 3 หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
104577 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต

รวม

6


หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1

              1.ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งเป็นหลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา
             2.เป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2.75 หรือมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี ในองค์กรที่ดำเนินงานด้านการสำรวจและการทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์ การจัดการเชิงพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อม และการวางผังพื้นที่ / ผังเมือง / ผังชุมชน
             3.ในกรณีที่ผู้สมัครเข้าเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.75 ให้มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครหรือจากหัวหน้าส่วนงานในองค์กรที่ผู้สมัครทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ


- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
             1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งเป็นหลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา
            2.เป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี ในองค์กรที่ดำเนินงานด้านการสำรวจ การทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์ วนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            3.ในกรณีที่ผู้สมัครเข้าเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.75 ให้มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครหรือจากหัวหน้าส่วนงานในองค์กรที่ผู้สมัครทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ
            4.ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย
                 ประธานกรรมการ 
                 อีเมล์: p.kampanart@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2756

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก ดร.ชัยวิวัฒน์ วงศาโรจน์
                 กรรมการ 
                 อีเมล์: ChaiwiwatV@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2753

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง
                กรรมการและเลขานุการ 
                 อีเมล์: sittichaic@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2753

                 นางสาวโสนน้อย ฟักทองอ่อน
                 เจ้าหน้าที่ธุรการ
                 อีเมล์: Sanonoi18@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2757

การรับเข้าศึกษาต่อ
             -  เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
             - ผู้สมัครต้องเขียนโครงร่างขนาดย่อประมาณไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A 4 เพื่อแสดงถึงแนวคิดและงานวิจัยที่ต้องการดำเนินการในการศึกษาในหลักสูตรนี้ โดยมีเนื้อหาต่างๆ ดังนี้ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเอกสารอ้างอิง  
             - ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูไปที่ เวปไซต์ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   www.acad.nu.ac.th

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
             80,000 บาท

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
             เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 โดยมีรายละเอียดของเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ดังนี้

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก
           1. มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
           2.ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
           3. สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
           4. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า  ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
           5. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก 2
         1. มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
         2. ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
         3. สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
         4. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ
         5. มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00
         6. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
         7. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ให้รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ดังกล่าว

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
       - นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภูมิศาสตร์
       - นักวิเคราะห์และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและการคมนาคมขนส่ง
       - นักวางแผนภูมิภาค
       - นักจัดการระบบเมืองและชนบท
       - นักวิเคราะห์เพื่อบรรเทาและป้องกันภัยสาธารณะ
       - นักวิชาการด้านการจัดการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
       - อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
       - นักวิจัย
       - ประกอบอาชีพอิสระด้านต่างๆ

 
     ดาวน์โหลด มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560
Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750