Untitled Document
images_04
  template2
ปริญญาตรี
» วท.บ.สาขาภูมิศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.บ.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาโท
» วท.ม.สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» วท.ม.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
ปริญญาเอก
» ปร.ด.สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
        และสิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรปรับปรุง 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565
» ปร.ด.สาขาวิทยาศาสตร์
        สิ่งแวดล้อม
  » หลักสูตรใหม่ 2560
  » หลักสูตรปรับปรุง 2565

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
             สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง 2565)(สำหรับนิสิต รหัส 65 เป็นต้นไป)

     »» ดาวน์โหลด มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย :หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ :Master of Science Program in Geographic Information Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
Master of Science (Geographic Information Science)
วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
M.S. (Geographic Information Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 1   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก 2   จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552


ภาษาที่ใช้
  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความคิด ทักษะการแก้ปัญหา และสร้างงานวิจัยเชิงพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือบูรณาการกับฐานความรู้ด้านทฤษฎี และเทคนิควิธีการด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์ สามารถ ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิต และระบบข้อมูล เชิงพื้นที่ รวมถึงการผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะในการบูรณาการองค์ความรู้เชิงพื้นที่รวมกับภูมิสารสนเทศ ในการสร้างนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารและจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ี้
1 มีความรู้และเข้าใจแนวความคิด สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลเชิงพื้นที่ จากสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกได้
2 มีทักษะในการวิจัย สามารถสร้างงานวิจัย และต่อยอดองค์ความรู้ โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และประยุกต์ใช้ หรือสร้างเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ที่เหมาะสม ต่อการวางแผนและจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ได้
3 มีความเข้าใจ ใฝ่รู้ และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิควิธีการศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบัน
4 ถึงพร้อมด้านจิตพิสัยของการเป็นมหาบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความรับผิดชอบ และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนาพาสังคมส่วนรวมไปสู่ความเป็นสุข

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)

ELO1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
ELO2 อธิบายและวิเคราะห์ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และทักษะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สามารถนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอดได้
ELO3 วางแผนและดาเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในด้าน ภูมิสารสนเทศศาสตร์และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
ELO4 แสดงภาวะความเป็นผู้นา สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับในความคิดเห็น ที่แตกต่าง
ELO5 สามารถสื่อสารข้อมูลทางด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์สู่ชุมชนและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

วัตถุประสงค์ ผลการเรียนที่คาดหวัง(ELOs)
1.มีความรู้และเข้าใจแนวความคิด สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผลเชิงพื้นที่จากสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกได้
ELO2
2.มีทักษะในการวิจัย สามารถสร้างงานวิจัย และต่อยอดองค์ความรู้ โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และประยุกต์ใช้ หรือสร้างเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ที่เหมาะสม ต่อการวางแผนและจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ได้
ELO3 ,ELO2
3.มีความเข้าใจ ใฝ่รู้ และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิค วิธีการศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบัน
ELO3 ,ELO4
4.มีความถึงพร้อมด้านจิตพิสัยของการเป็นมหาบัณฑิต ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทางภูมิสารสนเทศ เพื่อนาพาสังคมส่วนรวมไปสู่ความเป็นสุข
ELO1 ,ELO4 ,ELO5
หมวดวิชา
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ.2565

 
 

แผน ก แบบ ก 1

แผน ก แบบ ก 2

 
1.งานรายวิชา(Course Work)        ไม่น้อยกว่า - 24 หน่วยกิต
      1.1  วิชาบังคับ - 12 หน่วยกิต
      1.2  วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า - 12 หน่วยกิต

2.วิทยานิพนธ์      ไม่น้อยกว่า

36 12 หน่วยกิต
3.รายวิชาไม่บังคับหน่วยกิต 5 5 หน่วยกิต
            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2565

 แผน ก แบบ ก 1

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น

104545 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3(3-0-6)
104571 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย

104546 สัมมนา1 (ไม่นับหน่วยกิต) 1(0-2-1)
104572 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
104547 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต) 1(0-2-1)
104593 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 1   9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
104574 วิทยานิพนธ์ 4 แผน ก แบบ ก 1 9  หน่วยกิต

รวม

9


หน่วยกิต

 

  แผน ก แบบ ก 2
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น
104541 การทำแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3 (2-2-5)
104542 วิทยาการข้อมูลเชิงพื้นที่ 3 (2-2-5)
104543 การรับรู้จากระยะไกลขั้นสูง 3 (2-2-5)
104544 การทาแผนที่ประยุกต์บนระบบออนไลน์ 3 (2-2-5)
104545 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่นับหน่วยกิต) 3 (3-0-6) 

รวม

12


หน่วยกิต

 

ปีที่ 1
ภาคการศึกษาปลาย
104xxx วิชาเลือก  3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก  3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก  3 (2-2-5)
104xxx วิชาเลือก   3 (2-2-5)
104546 สัมมนา 1 (ไม่นับหน่วยกิต)     1 (0-2-1)
104575 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 2  3  หน่วยกิต

รวม

15


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น
104547 สัมมนา 2 (ไม่นับหน่วยกิต)     1 (0-2-1)
104576 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 2 3  หน่วยกิต

รวม

3


หน่วยกิต

 

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาปลาย
104577 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต

รวม

6


หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1

             ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ที่มีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่าที่มหาวิทยาลัยกาหนด โดยมหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติม หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพื่อเป็นการปรับฐานความรู้
             1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาภูมิศาสตร์หรือภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ
             2. เป็นผู้มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี ในองค์กรที่มีการดำเนินงานทางด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศ อาทิเช่น ด้านการสำรวจและการจัดทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์ การวางผังและออกแบบชุมชนเมือง การชลประทาน อุตุนิยมวิทยา วนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข วิศวกรรมศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานด้านบริษัทที่ปรึกษาโครงการ หรือประสบการณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
                  ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขาอาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยให้มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ที่ผู้สมัครหรือจากหัวหน้าส่วนงานในองค์กรที่ผู้สมัครทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ ทั้งกรณีชาวไทย และชาวต่างประเทศ


- ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
            ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 รับเฉพาะชาวไทย ซึ่งเป็นการเรียนแบบลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและทำวิทยานิพนธ์
             1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรในสาขาสาขาภูมิศาสตร์ ภูมิสารสนเทศศาสตร์  วิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ
             2. เป็นผู้มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี ในองค์กรที่มีการดำเนินงานทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ อาทิเช่น ด้านการสำรวจและการจัดทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์ การวางผังและออกแบบชุมชนเมือง การชลประทาน อุตุนิยมวิทยา วนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข วิศวกรรมศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานด้านบริษัทที่ปรึกษาโครงการ หรือประสบการณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
                ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขาอาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยให้มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ที่ผู้สมัครหรือจากหัวหน้าส่วนงานในองค์กรที่ผู้สมัครทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฐพล มหาวิค
                 ประธานกรรมการ 
                 อีเมล์: nattaponm@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2752

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก ดร.ชัยวิวัฒน์ วงศาโรจน์
                 กรรมการ 
                 อีเมล์: ChaiwiwatV@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2753

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง
                 กรรมการและเลขานุการ 
                 อีเมล์: sittichaic@nu.ac.th
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2753

                 นางสาวโสนน้อย ฟักทองอ่อน
                 เจ้าหน้าที่ธุรการ
                 อีเมล์: Sanonoi18@gmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์: 0-5596-2757

การรับเข้าศึกษาต่อ
             -  เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
             - ผู้สมัครต้องเขียนโครงร่างขนาดย่อประมาณไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A 4 เพื่อแสดงถึงแนวคิดและงานวิจัยที่ต้องการดำเนินการในการศึกษาในหลักสูตรนี้ โดยมีเนื้อหาต่างๆ ดังนี้ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเอกสารอ้างอิง  
             - ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูไปที่ เวปไซต์ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   www.acad.nu.ac.th

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
             - บาท

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
             เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 โดยมีรายละเอียดของเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ดังนี้

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก
           1. มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
           2.ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
           3. สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
           4. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า  ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
           5. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หลักสูตร แผน  ก แบบ ก 2
         1. มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
         2. ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
         3. สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
         4. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ
         5. มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00
         6. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
         7. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ให้รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ดังกล่าว

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

       - นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภูมิศาสตร์
       - นักภูมิสารสนเทศ
       - นักวิชาการภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม
       - นักวิเคราะห์ และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการคมนาคมขนส่ง
       - นักวางแผนภูมิภาค
       - นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลทางด้านภูมิสารสนเทศ
       - นักจัดการระบบเมือง และชนบท
       - นักวิเคราะห์เพื่อบรรเทา และป้องกันภัยสาธารณะ

       - นักวิชาการด้านการจัดการด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
       - อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
       - นักวิจัย
       - ประกอบอาชีพอิสระด้านต่างๆ

ELO

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (ELOs) สู่รายวิชา

ELO1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ

ELO2 อธิบายและวิเคราะห์ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอดได้

ELO3 วางแผนและดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบันได้อย่าง เหมาะสม

ELO4 แสดงภาวะความเป็นผู้นำสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง

ELO5 สามารถสื่อสารข้อมูลทางด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์สู่ชุมชนและสังคมทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ


ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

วัตถุประสงค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง(ELOs)

1. มีความรู้และเข้าใจแนวความคิด สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผลเชิงพื้นที่จากสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกได้ ELO2

2. มีทักษะในการวิจัย สามารถสร้างงานวิจัย และต่อยอดองค์ความรู้โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และประยุกต์ใช้หรือสร้างเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการวางแผนและจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ได้

ELO3, ELO2

3. มีความเข้าใจ ใฝ่รู้ และปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิควิธีการศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในโลกปัจจุบัน

ELO3, ELO4

4. มีความถึงพร้อมด้านจิตพิสัยของการเป็นมหาบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทางภูมิสารสนเทศ เพื่อนำพาสังคมส่วนรวมไปสู่ความเป็นสุข ELO1, ELO4, ELO5

 

Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750