วิสัยทัศน์ของภาควิชา คือ "รวมพลังให้เป็นหนึ่งเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการภายในบริบทภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" โดยมีพันธกิจที่สำคัญในการ "พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีในระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อตอบสนองภารกิจหลักของภาควิชา โดยเฉพาะด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์" และมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ
1. จัดให้มีพลวัตของหลักสูตรสำหรับผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ จริยธรรม และทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณสมบัติพร้อมทางด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
2. จัดหา พัฒนา และปรับปรุงระบบปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเพียงพอ
3. สร้างกระบวนการงานวิจัยอย่างมีบูรณาการ โดยใช้การวิจัยเป็นฐานการเรียนการสอน และขยายฐานงานวิจัยไปสู่การบริการวิชาการแก่ชุมชน
4. จัดให้มีการเผยแพร่ผลงานอาจารย์ ทั้งที่เป็นงานทบทวนและเรียบเรียง และรายงานการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ออกสู่เวทีวิชาการระดับชาติและระดับสากล
5. จัดให้มีกิจกรรมขององค์กรที่มีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ดีไว้เป็นมรดก ของชาติ
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารงานของภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1) นโยบายการผลิตบัณฑิตหรือการเรียนการสอนหลักสูตรที่เปิดดำเนินการในปัจจุบัน
2) นโยบายการพัฒนานิสิตและบัณฑิต
3) นโยบายด้านการสร้างงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
4) นโยบายการบริการวิชาการแก่สังคม
5) นโยบายการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ
6) นโยบายด้านการบริหารจัดการ ทั้งนี้ดูรายละเอียดได้ใน http://www.agi.nu.ac.th/nred/about.php?view=policy
ทั้งหมดนี้ ดำเนินการตามตัวบ่งชี้ที่เพิ่มเติมมาตามอัตลักษณ์ของภาควิชาฯ ที่จะทำการ ผลิตบัณฑิตและนักวิจัย โดยภาควิชาฯ ได้ประยุกต์ใช้เกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของคณะเกษตรศาสตร์ฯ ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และนโยบายของภาควิชาฯ โดยมีองค์ประกอบในด้านกระบวนการ และผลผลิตหรือผลลัพธ์อย่างครบถ้วน ประกอบด้วย
1.มีระบบและกลไกการผลิตบัณฑิตนักวิจัยและงานสร้างสรรค์ของภาควิชาฯ ทุกหลักสูตร/ทุกระดับมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะด้านการวิจัย
2.มีแหล่งทุนหรือการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.มีการสนับสนุนการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ในด้านห้องปฏิบัติการ/เครื่องมือ/ห้องสมุดหรือแหล่ง ค้นคว้า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
4.มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของนิสิตในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือเผยแพร่งานสร้างสรรค์
5.มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนในข้อ 3 และข้อ 4 อย่างครบถ้วนทุกประเด็น และ
6.มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการผลิตบัณฑิตนักวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของภาควิชาฯ |