Untitled Document
images_04
 

 

template2
  แนะนำภาควิชา
» ประวัติภาควิชา
» วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์
» นโยบายภาควิชา
» โครงสร้างการบริหารงานภาควิชา
» นโยบายการประกันคุณภาพ
» กรรมการภาควิชา
» อัตลักษณ์ของภาควิชา
» รายงานการประชุมภาควิชา
» แผนกลยุทธ์ของภาควิชา ทส. 2554–2559 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)

 

Untitled-1

 
 นโยบายการบริหารงาน ของภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
   
 
 
1.
ด้านการผลิตบัณฑิตหรือการเรียนการสอนหลักสูตรที่เปิดดำเนินการในปัจจุบัน
1.1
แต่งตั้งคณะกรรมการหลักสูตรตาม “อาจารย์ประจำหลักสูตร” กำหนดภาระหน้าที่ให้ชัดเจน เช่น การดำเนินงาน ควบคุม     กำกับให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร ได้แก่ การเปิด-ปิดหลักสูตร การประเมินโดยบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต และการประเมินหลักสูตรตามแบบรายงานข้อมูลฯ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มคอ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนทุกปีการศึกษา ส่วนหลักสูตรเก่าให้ประเมินตามแบบรายงานข้อมูลฯ สมอ ที่เกี่ยวข้อง และการปรับปรุงหลักสูตรตามผลการประเมิน ตลอดจนพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน/การวัดและประเมินผลตามผลการประเมินรายวิชา
1.2
ประสานงานกับประธานหลักสูตรในการแก้ปัญหาครุภัณฑ์ตามความคิดเห็นของคณาจารย์ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามหลักการทดแทนของเก่าและอัตราส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนนิสิต
1.3
สนับสนุนการจัดทำกรอบอัตรากำลังของคณาจารย์และบุคลากรร่วมกับคณะ
1.4
ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการจัดการความรู้และนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
1.5
สำรวจคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทุก 5 ปี และส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม และมีคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อรองรับประชาคมอาเซีย
1.6
ส่งเสริมการเผยแพร่ชื่อเสียงของภาควิชาตามภารกิจหลัก เน้นการเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ โดยบทความวิจัย บทความทางวิชาการและผลงานของคณาจารย์
2.
ด้านการพัฒนานิสิตและบัณฑิต
2.1
กำหนดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อการให้การแนะแนวการศึกษาและด้านการดำเนินชีวิต
2.2
ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำหรับนิสิตและศิษย์เก่า ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งระบบออนไลน์ รวมทั้ง Facebook ที่สามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3
ส่งเสริมการพัฒนานิสิตให้มีทักษะคิด ทักษะกระบวนการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.4
จัดทำโครงการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้แก่ศิษย์เก่าอย่างเป็นรูปธรรม
2.5
ร่วมมือกับคณะเพื่อให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิต เพื่อการนำไปใช้ในการทำกิจกรรมนิสิต
2.6
ร่วมมือกับคณะเพื่อดำเนินการให้นิสิตสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษากับภาควิชาอื่น และสถาบันอื่น โดยกำหนดกิจกรรมร่วมกัน
3.
ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์
3.1
จัดทำแผนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ พร้อมกับให้มีคณะกรรมการวิจัย และกำหนดภาระหน้าที่ให้ชัดเจน
3.2
ส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งสนับสนุนการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน
3.3
สนับสนุนและร่วมมือกับภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการเชิญนักวิจัยที่มีชื่อเสียงมาบรรยายหัวข้อวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย
3.4
สนับสนุนการจัดการความรู้จากผลงานวิจัยโดยรวบรวม คัดสรร วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ แล้วเผยแพร่สู่สาธารณะ
3.5
ส่งเสริมการแสวงหาความต้องการผลงานวิจัยจากภายนอก และการรับรองการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
4.
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
4.1
ส่งเสริมการสำรวจความต้องการด้านการบริการวิชาการฯ จากภายนอก แล้วนำมาจัดทำแผนงาน/โครงการ
4.2
ทบทวนหรือปรับปรุงการให้บริการวิชาการแก่สังคมในด้านขั้นตอน งบประมาณ และภาระงาน
4.3
สนับสนุนการบูรณาการการบริการฯกับการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย
4.4
สนับสนุนการประเมินผลประโยชน์และผลกระทบของการบริการฯ ต่ออาจารย์ บุคลากร และนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ
5.
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.1
สนับสนุนและร่วมมือกับคณะเพื่อกำหนดนโยบาย แผนงาน/โครงการ และงบประมาณด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.2
สนับสนุนการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนิสิต โดยเฉพาะโครงการ “สวมงอบ” ที่สามารถสร้างความสมานฉันท์ของนิสิตทั้งสองหลักสูตรในระดับปริญญาตรีได้ดี
6.
ด้านการบริหารจัดการ
6.1
ทบทวนหรือปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหาร
6.2
ทบทวนหรือปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และแผนการดำเนินงาน โดยเน้นการปรับปรุงตามผลการประเมิน
6.3
การจัดทำแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับแผนฯ ของคณะ มหาวิทยาลัย และประเทศชาติ
6.4
สนับสนุนการกระจายความรับผิดชอบตามภารกิจหลักในรูปของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ พร้อมกับกำหนดภาระหน้าที่ให้ชัดเจน (เช่น คณะก.ก.หลักสูตร วิจัย ความเสี่ยง กิจการนิสิต ประกันคุณภาพการศึกษา ฯลฯ)
6.5
กำหนดระบบและกลไกการประเมินผู้บริหารและการปรับปรุงการบริหาร รวมทั้งการประเมินคณาจารย์ และบุคลากรทุกระดับ
6.6
สนับสนุนฉันทานุมัติในการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย โดยเน้นด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย
6.7
สนับสนุนและร่วมมือกับคณะในการวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดความเสี่ยง และการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในระดับสูง
6.8
สนับสนุนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อประสิทธิภาพการบริหาร
6.9
สนับสนุนการใช้ CHE QA Online ในระดับภาควิชา
6.10
สนับสนุนและร่วมมือกับคณะในการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับภายนอก

 

 
Copyright 2011 All right and reserves Department of Natural Resourse and Environment
Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University,Tel. 0-5596-2757, Fax. 0-5596-2750